ขณะที่นายนันท์ กล่าวว่า ทำไมแรงงานข้ามชาติถึงไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคม รวมถึงกองทุนเงินทดแทนหรืออื่นๆ เพราะประเทศไทยมีกฎหมายที่ล้าหลัง พอมีแรงงานข้ามชาติ กฎหมายที่รองรับกับการใช้แรงงานข้ามชาติ ก็ไม่มีและตามไม่ทัน ขณะเดียวกันเรามีนักวิชาการ นักปฏิบัติ แต่เราขาดแคลน ผู้ออกแบบระบบ เราไม่มีการปูองกันปัญหา หรือหยุดปัญหาเลย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เลยเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าววันสต็อปเซอร์วิส ซึ่งตนขอชื่นชม คสช. ว่ามาถูกทางแล้ว แต่ เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วให้ทำประกันสุขภาพ อายุ 1 ปี แต่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ดังนั้น คนไทยจึงคาดหวังว่าน่าจะมีคนออกแบบในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่มองว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง 250 คน ที่จะออกแบบประเทศไทยนั้น เดิมจะมีการปฏิรูปเพียง 11 ด้าน ซึ่งในด้านแรงงานไม่มี แต่พอมีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ทั้ง 18 คณะ ปรากฏว่า มีคณะกรรมาธิการด้านแรงงาน 1 คณะ โดยมีนายทหารเป็นประธานกรรมาธิการ ซึ่งกลไกลของ สปช. เปิดโอกาสให้ประชาชนส่งความคิดเห็นผ่านศูนย์ดำรงธรรม อยากถามว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ ประเทศเราควรมี สปช.ไหม
เพราะสปช.เขาให้มาออกแบบประเทศไทย ไม่ใช่มารอความคิดจากประชาชนเพียงอย่างเดียว
วิธีการเข้าสู่ระบบประกันสังคม คงจะรอ สปช. หรือรอรัฐบาลไม่ได้ ดังนั้น เราต้องช่วยกันออกแบบและเสนอไปยัง สปช. โดยเราตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าต้องทำให้แรงงานในสมุทรสาคร เข้าสู่ระบบประกันสังคมครบ 100 เปอร์เซ็นต์ให้ได้ อย่างไรก็ตาม การที่ คสช. ใช้ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสนั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ถูกต้อง เพราะระยะเวลาเปิดให้ขึ้นสั้นไป ต้องเปิดตลอดปี
เพื่อให้ทุกคนได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย
ทั้งนี้ นายอารักษ์ กล่าวว่า เรื่องแรงงานข้ามชาติ มี 2 หลัก ที่เราพูดคุยกัน คือ หลักความเท่าเทียม หลักความเป็นธรรม เรื่องการปฏิรูปแรงงานข้ามชาติ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่มีปัญหาไปทั่วโลก ซึ่งลักษณะภูมิภาคประเทศไทย เอื้อประโยชน์ให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศอย่างมาก โดยมีแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ หลัก คือ พม่า เขมร และลาว ซึ่งมิติของไทยคิดเรื่องแรงงานข้ามชาติ คือ ความมั่นคงของรัฐ จึงมีการขึ้นทะเบียนเพื่อก ากับดูแลได้ มิติทางความมั่นคงทางสังคม เพื่อดูแลความเป็นอยู่ และมิติความมั่นคงทางมนุษย์ คือการดูแลเรื่องสิทธิของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งไม่มีการจัดระเบียบที่ถูกต้อง ถามว่าจะต้องปฏิรูปอย่างไร หลักการการเข้าถึงประกันสังคม ต้องมีข้อตกลงทางประกันสังคมเกิด คือ ข้อตกลงการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กัน การไม่ละเมิดสิทธิ และการรับเงินสมทบ เราต้องปรับแนวปฏิบัติให้ได้ เชื่อว่าเราสามารถบริหารจัดการได้ เพราะจะบ่งชี้ถึงความเท่าเทียมและเป็นธรรม
"เมื่อประชาคมอาเซียนเปิด คงไม่น่ากังวลเรื่องแรงงานเลย เพราะแรงงานข้ามชาติในประชาคมอาเซียนจะเป็นสิ่งสำคัญในอาเซียนคือต้องมีข้อตกลงในการใช้แรงงานที่มีทักษะสูง มีวิชาชีพติดตัว มีความรู้ความสามารถรอบด้าน มีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่ปัญหาแรงงานที่เกิดในปัจจุบันคือแรงงานที่มีทักษะต่อกฎหมายประกันสังคม จึงปูองกันไว้ไม่ให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพราะเป็นการเปิดหางานเพื่อให้คนไทยมีงานทำ อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับความมั่นคงของรัฐมากที่สุด
ขอขอบคุณที่มา : ASTV ผู้จัดการรายวัน