ลบ
แก้ไข
อาเซียน 10 ประเทศ กับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีญี่ปุ่นอินเดียออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทําความตกลงการค้าเสรี ASEAN+6 หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)
อาเซียนต้องการจัดทําความตกลง RCEP เพื่อบูรณาการระบบเศรษฐกิจของอาเซียนให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจภายนอกภูมิภาคอาเซียน และมีเป้าหมายให้เป็นความตกลงที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุมทุก
จับตาการประชุม "RCEP-TNC ครั้งที่ 7"

อาเซียน 10 ประเทศ กับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีญี่ปุ่นอินเดียออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทําความตกลงการค้าเสรี ASEAN+6 หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)
อาเซียนต้องการจัดทําความตกลง RCEP เพื่อบูรณาการระบบเศรษฐกิจของอาเซียนให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจภายนอกภูมิภาคอาเซียน และมีเป้าหมายให้เป็นความตกลงที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุมทุก
มิติทางการค้า มีการเปิดเสรีทั้งในเชิงกว้างและลึก ต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่เดิม
กับแต่ละประเทศดังกล่าวจํานวน 5 ฉบับ ได้แก่อาเซียน-จีน อาเซียน-เกาหลีอาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-
อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
ประเทศสมาชิก RCEP 16 ประเทศ ได้มีการประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง ในเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และกฎหมาย ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นลําดับ อย่างไรก็ดีที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่องรูปแบบการเปิดตลาดสําหรับการค้าสินค้าการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งนับเป็นกุญแจสําคัญที่จะทําให้การเจรจาในภาพรวมมีความคืบหน้า
ทั้งนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม RCEP-TNC ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 4-13 กุมภาพันธ์ 2558 ณ กรุงเทพฯ โดยจะเน้นการ หารือรูปแบบการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุนที่คงค้างอยู่ ที่ผ่านมา ประเทศสมาชิก RCEP มีความเห็นที่หลากหลาย เนื่องจากมีความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประกอบกับสมาชิกบางประเทศไม่เคยมีความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคีระหว่างกัน ทําให้ค่อนข้างสงวนท่าทีในการเจรจาเปิดเสรีภายใต้กรอบ RCEP
นอกจากนี้การประชุม RCEP-TNC ครั้งที่ 7 ยังมีเรื่องที่น่าจับตามองหลายเรื่อง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาและการแข่งขัน เนื่องจากระบบหรือกฎหมายดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการแข่งขันของสมาชิก 16 ประเทศ มีความแตกต่างกัน และจะมีการหารือระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการทํา Workshop เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการสนับสนุน SMEs ภายใต้กรอบ RCEP ด้วย ซึ่งประเด็น SMEs ประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดียให้ความสําคัญอย่างมาก
อย่างไรก็ดีในการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมฯ ได้พยายามอย่างหนักและเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวดังนั้น การประชุมครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯจึงนับว่ามีความสําคัญและน่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะต้องหารืออย่างเข้มข้น และกดดันด้วยกรอบเวลาที่เร่งเข้ามาทุกขณะ โดยประเทศสมาชิกมีเป้าหมายที่จะให้ความตกลงแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2558
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.มติชน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.มติชน
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม จะจัดงาน Thailand industrial expo 2016 ภายใต้แนวคิด ศักยภาพอุตสาหกรรมไทย ความท้าทายสู่อนาคต ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ SMEs...by dogTech
-
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานของกัมพูชา เผยวันนี้ (24) ว่า เขื่อนไฟฟ้าขนาด 120 เมกะวัตต์ ใน จ.โพธิสัตว์ (Pursat) ทางภาคตะวันตกของประเทศ จะเริ่มผลิตไฟฟ้าในวันพฤหัสบดีนี้ (27) นายอิธ เพรียง...by Editor Bow
-
เนื่องจากการวางแผนโครงสร้าง ครอบครัวของคนทั่วโลกส่วนใหญ่ มีอัตราการเกิดลดลง ขณะที่มี จำนวนผู้สูงอายุยืนยาวขึ้น นั่นหมาย ความว่าทั่วทั้งโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย...by Editor Bow
-
แนวทางสำคัญของอาเซียนในปี 2015 คือการตระหนักถึงการเป็นประชาคมอาเซียนและการเชื่อมต่ออาเซียนผ่านคณะกรรมการประสานงาน (ACCC) ในการประชุมความร่วมมือภาครัฐและเอกชนอาเซียน(PPP)...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต