ลบ
แก้ไข
การเปิดเสรีเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สําหรับบริษัทจดทะเบียนสัญชาติไทย นับเป็นความท้าทายต่อเหล่าผู้ประกอบธุรกิจในทุกประเภท ทั้งในด้านการตั้งรับผู้ประกอบการรายใหม่จากเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาทําตลาดในประเทศไทย และในด้านเข้าไปรุกตลาดประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทุกที่ย่อมมีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าตลาดในประเทศเหล่านั้น และย่อมต้องเตรียมตัวรับมือกับการเข้าไปทําตลาดของสินค้าไทยเช่นกัน จึงมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสําหรับผู้ประกอบการไทย ที่จะเข้าไปขยายตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศที่เหลือ แม้จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันโดยเฉพาะด้านทุนทรัพย์ก็ตาม เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายบริษัทไทยที่ไม่ประสบความสําเร็จในการทําตลาดในต่างแดน แม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ ที่แทบจะเป็นเจ้าตลาดผูกขาดด้านการบริโภคภายใน -
ประเทศไทยอยู่ก็ตาม
เมื่อเร็วๆ นี้ "สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม" ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นทจํากัด (APM) หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน ที่เข้าไปขยายตลาดใน สปป.ลาว เพื่อรับการเปิดตลาดหุ้น สปป.ลาวกล่าวว่า APM ได้รับเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ บริษัท ลาวบริวเวอรี่ จํากัด ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติลาวแบรนด์ "เบียร์ลาว" ซึ่งส่งจําหน่ายทั่วทวีปเอเชีย รวมถึงสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
แผนการนําเบียร์ลาว เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ลาว มีการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่การเปิดซื้อขายครั้งแรกของตลาดหุ้นลาว เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2011 ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างธนาคารแห่งชาติลาว กับตลาดหลักทรัพย์แห่งเกาหลีใต้ในสัดส่วน 51% : 49% โดยมีธนาคารการค้าต่างประเทศและบริษัทผลิตไฟฟ้าลาว เป็น 2 บริษัทแรกที่เข้าจดทะเบียน และรัฐบาล สปป.ลาว เชื่อมั่นว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ลาวจะเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเท่า จากการมีบริษัทเอกชนในสปป.ลาวถึง 52 รายเตรียมเข้าขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาทิกลุ่มบริษัท ลาว เวิล์ด, บริษัทการบินลาว, บริษัท ลาว บริวเวอรี่, รัฐวิสาหกิจน้ํามันเชื้อไฟลาว, กลุ่มบริษัทดาวเฮือง และบริษัท ลาวโทรคม จํากัด ซึ่งกําลังอยู่ในช่วงการปรับตัวให้การบริหารงานเป็นไปแบบสากล จากปัจจุบันหลายแห่งยังมีการบริหารและจัดการเป็นแบบครอบครัวและมีการจัดทําระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ไม่ได้มาตรฐาน
จับตาเบียร์ลาวเข้าตลาดหุ้น ระดมทุน "เงินกีบ" รับ AEC
การเปิดเสรีเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สําหรับบริษัทจดทะเบียนสัญชาติไทย นับเป็นความท้าทายต่อเหล่าผู้ประกอบธุรกิจในทุกประเภท ทั้งในด้านการตั้งรับผู้ประกอบการรายใหม่จากเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาทําตลาดในประเทศไทย และในด้านเข้าไปรุกตลาดประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทุกที่ย่อมมีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าตลาดในประเทศเหล่านั้น และย่อมต้องเตรียมตัวรับมือกับการเข้าไปทําตลาดของสินค้าไทยเช่นกัน จึงมองว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสําหรับผู้ประกอบการไทย ที่จะเข้าไปขยายตลาดในประเทศเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศที่เหลือ แม้จะมีความได้เปรียบคู่แข่งขันโดยเฉพาะด้านทุนทรัพย์ก็ตาม เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายบริษัทไทยที่ไม่ประสบความสําเร็จในการทําตลาดในต่างแดน แม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ ที่แทบจะเป็นเจ้าตลาดผูกขาดด้านการบริโภคภายใน -
ประเทศไทยอยู่ก็ตาม
ขณะเดียวกัน ด้วยทุนรอนที่ใช้ในการขยายกิจการที่เป็นจํานวนมหาศาล เครื่องมือทางการเงินชิ้นหนึ่งที่หลายบริษัทเลือกนํามาใช้ในการขยายธุรกิจ คือ การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อนําหุ้นของบริษัทออกมาขายระดมทุน ทําให้ปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่ของไทยหลายแห่งเลือกที่จะเข้ามาจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เมื่อตลาดหุ้น คือแหล่งระดมทุนที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจเติบโต ดังนั้น นอกจากธุรกิจไทยที่มีข่าวระดมทุนออกมาอย่างเนื่อง ในประเทศเพื่อนบ้านย่านอาเซียนด้วยกัน ก็มีหลายบริษัทตัดสินใจเข้าไปจดทะเบียนเพื่อระดมทุนผ่านตลาดหุ้นของประเทศออกมาให้น่าติดตาม เช่น ตลาดหลักทรัพย์ของ สปป.ลาวที่นับได้ว่าเป็นตลาดหุ้นน้องใหม่ของชาติอาเซียน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวว่าธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดใหญ่ของประเทศที่รัฐบาลถือหุ้นอยู่ครึ่งหนึ่ง กําลังตัดสินใจที่จะเข้าจดทะเบียนเพื่อระดมทุนขยายธุรกิจให้ไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ บริษัท ลาวบริวเวอรี่ จํากัด ผู้ประกอบการธุรกิจ "เบียร์ลาว" ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสาธารณรัฐ - ประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว)
ปัจจุบัน "เบียร์ลาว" ส่งจําหน่ายทั่วทวีปเอเชีย รวมถึงสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และกําลังเข้ามาทําตลาดแบบเป็นทางการในเมืองไทย โดยเหตุผลง่ายๆ ของเบียร์ลาวที่เริ่มทําตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน คือ ดีกว่าปล่อยให้เขารุกฝ่ายเดียว จากที่ผ่านมา มีเบียร์ต่างชาติเข้า ไปท้าแข่งกับ เบียร์ลาว ในสปป.ลาว หลายแบรนด์ซึ่งรวมถึงแบรนด์เบียร์ของไทยจากทั้ง 2 ค่ายใหญ
เมื่อเร็วๆ นี้ "สมภพ ศักดิ์พันธ์พนม" ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นทจํากัด (APM) หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน ที่เข้าไปขยายตลาดใน สปป.ลาว เพื่อรับการเปิดตลาดหุ้น สปป.ลาวกล่าวว่า APM ได้รับเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ บริษัท ลาวบริวเวอรี่ จํากัด ผู้ผลิตเบียร์สัญชาติลาวแบรนด์ "เบียร์ลาว" ซึ่งส่งจําหน่ายทั่วทวีปเอเชีย รวมถึงสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
โดย "ลาว บริวเวอรี่" มีความประสงค์ที่จะเข้าจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ลาว เพื่อระดมทุนในการทําตลาดเบียร์ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพในการทําตลาดและกําลังซื้อมหาศาล ซึ่งเชื่อว่าเบียร์ลาวจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนด้วยเชนก่ ัน
ส่วนเหตุผลที่ "เบียร์ลาว" ตัดสินใจเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นลาว นอกจากเพื่อการเป็นสินค้าใหม่ให้กับตลาดหุ้นของชาติผู้บริหารลาว บริวเวอรี่ มองว่า ปัจจุบัน นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจกับตลาดที่มี Emergin ที่ดีและมีค่า P/E ต่ํา ซึ่งหมายถึงมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับค่า P/E ที่สูงในตลาดหุ้นขนาดใหญ่อย่างตลาดหุ้นสิงคโปร์ที่ความสนใจกําลังลดลง
เบียร์ลาว ครองส่วนแบ่งการตลาดเบียร์ใน สปป.ลาว มากกว่า 95% ซึ่งแรกเริ่มโรงงานเบียร์ลาวนั้นเป็นของประเทศฝรั่งเศสชื่อ "โรงงานเบียร์และน้ําก้อนลาว" หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองทางการลาวได้ซื้อหุ้นจากประเทศฝรั่งเศสและเข้าไปดําเนินกิจการเอง โดยเป็น การร่วมทุนระหว่างรัฐบาลลาว ภาคเอกชน และบริษัท คาร์ลสเบอร์กถือหุ้นใหญ่ โดยมี "กิดสะหนา วงไซ" ผู้อํานวยการใหญ่ บริษัทเบียร์ลาว จํากัด เป็นผู้บริหาร แต่สัดส่วนการส่งออกเบียร์ลาว ออกจําหน่ายในต่างประเทศยังน้อยมากจากกําลังการผลิตทั้งหมด 300 ล้านลิตรต่อปีซึ่งถือว่ายังไม่เพียงพอกับตลาดในประเทศที่เติบโตอย่างเนื่อง จนนําไปสู่การขยายกําลังผลิตเพิ่มครั้งล่าสุด
เป้าหมายของเบียร์ลาว คือ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยการเพิ่มโรงงานผลิตเบียร์เป็น 3 แห่ง จากปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียว เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด และเตรียมตั้งรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีคู่แข่งขันหลั่งไหลเข้ามาในประเทศ
นอกจากเบียร์ลาว ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ "ลาว บริวเวอรี่" แล้ว บริษัทยังมีผลิตภัณฑ์อื่นออกจําหน่าย นั่นคือ "น้ําดื่มตราหัวเสือ" ที่ถือเป็นเจ้าตลาดน้ําดื่มในประเทศ สปป.ลาว ด้วยมาร์เกตแชร์มากกว่า 45% จุดแข็งอีกอย่างคือ "เบียร์ลาว" ยังเป็นผู้ผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของเป๊ปซี่ทั้งหมดใน สปป.ลาวภายใต้ชื่อบริษัท ลาว ซอฟท์ดริ้งค์จํากัด
ก่อนหน้านี้ "กิดสะหนา" เคยให้สัมภาษณ์ถึงการเปิดเสรี AEC ว่าการเปิดประตูอาเซียน ปลุกนักธุรกิจลาวให้ตื่นตัวรับมือจากที่ประชากรจากเดิม 6 ล้านคนจะกลายเป็น 600 ล้านคน และรัฐบาล สปป.ลาว ก็มีนโยบายที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ แต่สิ่งที่สวนทางคือ คํายืนยันจากตัวผู้อํานวยการใหญ่ เบียร์ลาว ที่เคยยืนยันว่าหากตนเองยังอยู่จะไม่ได้เห็นการนํา "ลาว บริวเวอรี่"เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นอย่างแน่นอนนับว่าสวนทางกับกระแสข่าวความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นล่าสุด
แผนการนําเบียร์ลาว เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ลาว มีการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่การเปิดซื้อขายครั้งแรกของตลาดหุ้นลาว เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2011 ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างธนาคารแห่งชาติลาว กับตลาดหลักทรัพย์แห่งเกาหลีใต้ในสัดส่วน 51% : 49% โดยมีธนาคารการค้าต่างประเทศและบริษัทผลิตไฟฟ้าลาว เป็น 2 บริษัทแรกที่เข้าจดทะเบียน และรัฐบาล สปป.ลาว เชื่อมั่นว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ลาวจะเพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเท่า จากการมีบริษัทเอกชนในสปป.ลาวถึง 52 รายเตรียมเข้าขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อาทิกลุ่มบริษัท ลาว เวิล์ด, บริษัทการบินลาว, บริษัท ลาว บริวเวอรี่, รัฐวิสาหกิจน้ํามันเชื้อไฟลาว, กลุ่มบริษัทดาวเฮือง และบริษัท ลาวโทรคม จํากัด ซึ่งกําลังอยู่ในช่วงการปรับตัวให้การบริหารงานเป็นไปแบบสากล จากปัจจุบันหลายแห่งยังมีการบริหารและจัดการเป็นแบบครอบครัวและมีการจัดทําระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่ไม่ได้มาตรฐาน
ความยิ่งใหญ่ของเบียร์ลาว ยังสร้างความสนใจให้กับตลาดหุ้นอื่นๆ ในต่างประเทศ พยายามเชิญชวนเบียร์ลาวเข้ามาระดมทุนในตลาดหุ้นของตน รวมถึงตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่อยากให้ "ลาว บริวเวอรี่" เข้ามาจดทะเบียน
ที่ผ่านมา เบียร์ลาว เผชิญกับการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง จากคู่แข่งขันภายนอกที่เข้ามาทําตลาดมากขึ้น อาทิไฮเนเก้น ไทเกอร์ลีโอ และคู่แข่งขันภายในประเทศ อย่าง "เบียร์สะหวัน" จนเบียร์ต้องกําหนดจุดขายของตนเอง และวางเป้าหมายของตนเองเป็น เบียร์ของคนลาวทุกคน เป็นความภูมิใจของคนลาว เพื่อสร้างความภูมิใจให้กับผู้บริโภค และเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จับกลุ่มคนทุกชั้น
แต่จุดเปลี่ยนที่สําคัญของ "เบียร์ลาว"เกิดขึ้น เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายผลักดันให้เบียร์ลาวก้าวสู่ความเป็นสากล คือหาผู้ร่วมทุนที่เป็นมืออาชีพเฉพาะด้าน นอกจากนี้ยังได้ปรับรูปโฉมของเบียร์ลาวใหม่ เปลี่ยนโลโกจากรูปหัวเสือดํา เป็นรูปหัวเสือโคร่งสีเหลือง รวมทั้งออกสินค้าใหม่คือ เบียร์ลาวไลท์พร้อมขยายกําลังการผลิตใหม่ ผ่านแผนการลงทุนที่ระยะเวลา 5 ปี (2556-2560) ด้วยงบลงทุน 3,000 ล้านบาท
เนื่องจากเบียร์ลาวมีแผนจะเพิ่มกําลังการผลิตให้ได้ปีละ 600 ล้านลิตร โดยตั้งโรงงานเพิ่ม เพื่อรองรับ เออีซีโดยเฉพาะ และการขยายตลาดในต่างแดน เบียร์ลาวใช้สูตรร่วมลงทุนโดย "คาร์ลสเบอร์กบริวเวอรี่ส" 50% ที่เหลือแบ่งเป็นรัฐบาล สปป.ลาว และนักธุรกิจท้องถิ่น โดยมีเหตุผลสําคัญที่ต้องให้บริษัทต่างชาติเข้ามานําพาเบียร์ลาวสู่ตลาดต่างประเทศ นั่นคือ ปัญหาด้านลอจิสติกส์ที่บริษัทไม่มีความถนัด และต้องการนําความรู้ที่ได้รับจากการร่วมลงทุนไปพัฒนาบริษัทตนเองต่อไป
สําหรับตลาดเบียร์ใน สปป.ลาว พบว่า คนลาวนิยมดื่มเบียร์มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นๆ ทําให้มีมูลค่าตลาดมากกว่าปีละ 2 ล้านล้านกีบ หรือร่วม 8,000 ล้านบาท และเบียร์ลาวมียอดขายเฉลี่ยประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ จากประชากรทั้งประเทศประมาณ 6 ล้านคน ในด้านความนิยมของเบียร์ในปัจจุบัน นอกเหนือจาก ชาว สปป.ลาว ที่ชื่นชอบในรสชาติแล้ว เบียร์ลาวยังได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและประเทศอื่นๆ จนกําลังผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอ
เบียร์ลาว เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2536 เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายให้แปรรูปโรงงานเบียร์ลาว เพื่อหาเงินทุนภายนอกเข้ามาขยายกิจการ ได้มีการเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศไทย คือ "ล็อกซเล่ย์" และ "อิตัลไทย"เข้ามาถือหุ้นรวมกัน 51% และรัฐบาลถือหุ้น 49% ต่อมาปี 2545 ทั้ง 2 บริษัทของไทย ตัดสินใจขายหุ้นให้กับ "คาร์ลสเบอร์ก" และ "ทีซีซีกรุ๊ป" ของ "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เข้าถือแทนในสัดส่วนรายละ 25% จากนั้นเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นใหม่ทั้ง 2 แห่ง ทําให้ "ทีซีซีกรุ๊ป" ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไปจนทําให้ -
"คาร์ลสเบอรก"เข้ามาถือหุ้นในเบียร์ลาว 50% เช่นเดียวกับ สปป.ลาวจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามต่อไปว่า หาก "เบียร์ลาว" เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นลาวจริงสัดส่วนในการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 จะลดลงไปมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในส่วนของ "คาร์ลสเบอร์ก" ที่ยังต้องใช้ทุนอีกจํานวนมากในการนําพา "เบียร์ลาว" ออกไปลุยตลาดต่างประเทศหลายแห่ง
ขอบคุณที่มา : ASTV ผู้จัดการรายวัน
"คาร์ลสเบอรก"เข้ามาถือหุ้นในเบียร์ลาว 50% เช่นเดียวกับ สปป.ลาวจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามต่อไปว่า หาก "เบียร์ลาว" เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นลาวจริงสัดส่วนในการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 จะลดลงไปมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในส่วนของ "คาร์ลสเบอร์ก" ที่ยังต้องใช้ทุนอีกจํานวนมากในการนําพา "เบียร์ลาว" ออกไปลุยตลาดต่างประเทศหลายแห่ง
ขอบคุณที่มา : ASTV ผู้จัดการรายวัน
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
สื่อต่างประเทศเผยเหตุประท้วงกัมพูชา ได้รับแรงบันดาลใจจากไทย ตามรอยระดมมวลชนไล่รัฐบาล บลูแองนิวส์ เว็บไซต์ข่าวซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสหรัฐ...by Editor Bow
-
ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามคาดว่าจะส่งข้าวไปต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ได้ 900,000 ตัน ภายใต้แผนที่ร่างขึ้นโดยสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) และคาดการณ์ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวรวมตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ 7 ล้านตัน เหวียน หุ่ง...by Editor
-
ด้านการค้า ระหว่างประเทศ ในบรรดา 10 ประเทศในอาเซียน มาเลเซียมีมูลค่าการค้าขายกับจีนมากที่สุด โดยสามารถแซงหน้าสิงคโปร์มาได้ร่วม 3 ปีติดต่อกันแล้ว การค้าจีน-มาเลเซียมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 25...by Editor Bow
-
อาเซียนและจีนได้พยายามในการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันผ่านการสารสัมพันธ์และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในระดับภูมิภาค...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต