ลบ แก้ไข

บริหารจัดการสินค้า "กาแฟ" พร้อมรับมือ AEC

 


 
      “กาแฟ” เป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพการผลิตสูง ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีการนำเข้าสินค้ากาแฟปีละค่อนข้างเช่นกัน โดยเฉพาะกาแฟโรบัสต้าในรูปกาแฟดิบและกาแฟคั่วบด ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม -มิถุนายน 2557 ไทยได้น าเข้ากาแฟดิบแล้วกว่า 9,201.80 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 627.80 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีการน าเข้าสินค้ากาแฟคั่ว/บด ปริมาณ 359.12 ตันมีมูลค่ากว่า 122.52 ล้านบาท และยังมีการน าเข้ากาแฟสำเร็จ 3,306.49 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 985.16 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กาแฟถือเป็นสินค้าอ่อนไหวซึ่งภายหลังกรอบความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี  (AEC) มีผลบังคับใช้ในปี 2558 คาดว่า จะมีสินค้ากาแฟเข้ามาตีตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟของไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เร่งเตรียมแผนบริหารจัดการการนำเข้าสินค้ากาแฟ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้าจาการเปิดเสรีทางการค้า

      นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจส าคัญของกลุ่มประเทศอาเซียนโดยมีผู้ผลิตหลัก ได้แก่ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ไทย และเวียดนามมีผลผลิตรวมปีละประมาณ 1.7 ล้านตัน คิดเป็น 26 % ของผลผลิตกาแฟของโลกส่วนใหญ่เป็นผลผลิตกาแฟโรบัสต้า   โดยสินค้ากาแฟที่กลุ่มอาเซียนส่งออกมี 2 รูปแบบ คือ เมล็ดกาแฟคิดเป็น 84.7% และกาแฟสำเร็จรูป 15% ซึ่งประเทศผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟของอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย ส่วนไทยและมาเลเซียเป็นผู้ส่งออกหลักกาแฟสำเร็จรูป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกาแฟของไทยมีแนวโน้มลดลง

    

 

     คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ และคณะอนุกรรมการพืชสวนจึงได้จัดทำแผนบริหารจัดการการน าเข้าสินค้ากาแฟ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้าของไทย โดยกำหนดช่วงเวลาการนำเข้าเมล็ดกาแฟโรบัสต้าในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตรงกับช่วงที่ผลผลิตในประเทศออกสู่ตลาดขณะเดียวกันยังได้กำหนดปริมาณการนำเข้า โดยให้ผู้ประกอบการค่อยทยอยนำเข้าตามขีดความสามารถของโรงงานแปรรูปเพื่อลดผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณสต็อกกาแฟคงเหลือภายในประเทศด้วย


ขอบคุณที่มา :  
ไทยโพสต์
 

Editor
ชม 9,372 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ