ลบ
แก้ไข

เพื่งจะมีการเปิดเผยในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พระราชสาส์นที่เป็นแผ่นทองคำของพระเจ้าอลองพญา แห่งราชอาณาจักรพม่า ที่ส่งถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อเกือบ 260 ปีก่อน ก่อนที่จะทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์นั้่น ไปปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งหนึ่ง ในนครฮันโนเวอร์ (Hannover) ประเทศเยอรมนี และทางการพม่าจะนำเอาภาพดิจิตอล 3 มิติ ที่จัดทำเอาไว้ออกแสดงให้สาธารณชนได้รับชมสัปดาห์นี้ในเมืองหลวงเนปีดอ
ตามรายงานของสื่อทางการ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โคนบอน (Konbaung Dynasty, พ.ศ.2295-2428) ทรงส่งพระราชสาส์นฉบับดังกล่าวถึงกษัตริย์แห่งอังกฤษ เพื่อเป็นเครื่องแสดงพระประสงค์ในการเจริญสัมพันธไมตรี และส่งเสริมการค้าขายระหว่างสองราชอาณาจักร แต่พงศาวดารของไทยบันทึกเรื่องราวที่ใหญ่โตกว่านั้น โดยระบุว่า นั่นคือพระราชสาส์นที่แสดงความเป็นเจ้าของดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีต
นั่นคือเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.2299 หรือ 4 ปี หลังจากทรงสถาปนาราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรพม่าขึ้นที่เมืองชเวบอ (Shwebo) หรือ 11 ปีก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถูกเผาวายวอด ในรัชสมัยพระเจ้ามังระ (Hsinbyushin หรือพระเจ้าเช็งบูเช็ง) พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งถึงกาลล่มสลาย หลังจากเป็นศูนย์กลางการปกครอง และการค้าขายที่รุ่งเรืองในย่านนี้มายาวนานกว่า 400 ปี
พระราชสาสน์ดังกล่าวทรงเขียนขึ้นในยุคที่นักล่าอาณานิคมอังกฤษกำลังปรายสายตามาในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่พระราชวงศ์ใหม่ในพม่า ได้พยายามทำการปฏิรูปภาพลักษณ์อย่างรอบด้านให้ดูทันสมัย สืบต่อจากราชวงศ์ตองอู (Thaung Oo Dynasty) ที่พยายามเอาใจชาวฝรั่งเศส กับชาวอังกฤษในยุคนั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งมหาอำนาจตะวันตกได้
เมื่อ พล.จ.เอมี้นจู (Aye Myint Kyu) รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ไปเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการปีที่แล้ว ฝ่ายเจ้าภาพได้เสนอโอกาสให้รัฐมนตรีพม่า และคณะได้ไปชมพระราชสาสน์ของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งเก็บไว้ที่หอสมุดกอตฟรีด วิลเฮล์ม (Gottfried Wilhelm) ในนครฮันโนเวอร์ (Hannover) ซึ่งว่ากันว่า ที่นั่นเป็นถิ่นพระราชสมภพของพระเจ้าจอร์จที่ 2 และเชื่อกันว่าพระองค์ทรงถวายพระราชสาสน์ทองคำจากกษัตริย์แห่งแดนไกล แด่ทางการท้องถิ่นเมืองฮันโนเวอร์ในยุคดังกล่าว
ไม่ได้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนว่า ฝ่ายเยอรมนีได้เปิดเผยให้พม่าทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ แต่ระหว่างการเยือนของรัฐมนตรีพม่่าคราวนั้น ฝ่ายเยอรมนีได้รับปากจะจัดทำสำเนาดิจิตัล 3 มิติ พระราชสาสน์ที่ประทับพระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าอลองพญา และมอบให้แก่ฝ่ายพม่า
พระราชสาสน์ทองคำ ซึ่งเป็นแผ่นโลหะที่ทอขึ้นจากทองคำ มีขนาดยาว 55 เซนติเมตร กว้าง 22 เซนติเมตร ขอบบนกับขอบล่างประดับด้วยทับทิมเม็ดงามที่สุด จำนวน 12 เม็ด เก็บไว้อย่างดีในกล่องที่ทำจากงาช้างแต่เดิม หนังสือพิมพ์นิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์รายงาน
จากที่เป็นเพียงนายบ้าน หรือหัวหน้าหมู่บ้านคนหนึ่งที่มีความปรีชาสามารถในการรบ พระเจ้าอลองพญา ได้รวบรวมไพร่พลเข้าตีเมืองมณีปุระ (Manipura) และก่อตั้งศูนย์กลางการปกครองขึ้นมาใหม่ทางตอนบนของพม่าในปัจจุบัน ในยุคที่อาณาจักรตองอูที่อยู่ใต้ลงไปอ่อนแอลง หลังจากนั้น ได้ทรงนำไพร่พลออกรบทัพจับศึกขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ตลอดเลา 8 ปีกับ 51 วัน ที่ทรงพระราชอำนาจ รวมทั้งการกอบกู้อาณาจักรล้านนา และดินแดนตะนาวศรี กลับคืนไปเป็นของพม่า รวมทั้งความพยายามเข้าตีเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง
ผลงานสำคัญอื่นๆ ยังรวมทั้งการขับไล่พวกฝรั่งเศส กับพวกอังกฤษ ที่เข้าไปช่วยเหลือ และพยายามฟื้นฟูพระราชวงศ์ตองอูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคานอำนาจกับฝ่ายเหนือ พระองค์ทรงฟื้นฟูเมืองย่างกุ้ง ที่เคยเป็นเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ และพระราชทานชื่อใหม่ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
.


ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของฝ่ายพม่า พระเจ้าอลองพญา ทรงสิ้นพระชนม์ระหว่างกลับจากการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แต่พงศาวดารของฝ่ายไทยระบุว่า ทรงสิ้นพระชนม์เนื่องจากปืนใหญ่แตกที่บริเวณหน้าพระเมรุ และพระองค์ทรงมีพระราชสาสน์ทองคำถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 ก่อนจะทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ เพื่อแจ้งให้อังกฤษได้ทราบว่า อยุธยาเป็นของราชอาณาจักรพม่ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง
สื่อของทางการไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับเนื้อหาในพระราชสาสน์ทองคำฉบับดังกล่าว นอกเหนือจากที่ระบุว่า เป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเกรทบริเตนในครั้งกระโน้น
ตลอดช่วงเวลา 258 ปี แห่งราชวงส์โคนบอน (เขียนตามสำเนียงในภาษาพม่า - บก.) กษัตริย์พระองค์ต่อๆ มาได้ทรงย้ายราชธานี หรือศูนย์กลางการปกครองไปยังอีกหลายแห่ง คือ จากเชวบอ ไปยังสะกาย (Sagaing) อังวะ (Ava) อมราปุระ (Amarapura) หรือ “อมรปุระ” และแห่งสุดท้ายคือ กรุงมัณฑะเลย์ (Mandalay) ก่อนจะสิ้นสุดลงในรัชสมัยพระเจ้าธีบอ หรือ “ติบอ” (Thibaw) และทั้งดินแดนพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์
เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้ง ไปยังเนปีดอ รัฐบาลทหารพม่าในอดีตได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในเมืองหลวงใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอลองพญา และบรมกษัตริย์อีก 2 พระองค์ คือ พระเจ้าอนอรธา (Anawratha) กับพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) บริเวณลานพระบรมชารานุสาวรีย์ดังกล่าว ถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับการสวนสนามฉลองวันครบครอบปีสำคัญของกองทัพพม่าตลอดหลายปีมานี้.
ขอบคุณที่มา : manager.co.th
“พระราชสาสน์ทองคำ” โผล่ในเยอรมนี กษัตริย์อลองพญาส่งถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 เมื่อครั้งยกทัพตีอยุธยา
เพื่งจะมีการเปิดเผยในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พระราชสาส์นที่เป็นแผ่นทองคำของพระเจ้าอลองพญา แห่งราชอาณาจักรพม่า ที่ส่งถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อเกือบ 260 ปีก่อน ก่อนที่จะทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์นั้่น ไปปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งหนึ่ง ในนครฮันโนเวอร์ (Hannover) ประเทศเยอรมนี และทางการพม่าจะนำเอาภาพดิจิตอล 3 มิติ ที่จัดทำเอาไว้ออกแสดงให้สาธารณชนได้รับชมสัปดาห์นี้ในเมืองหลวงเนปีดอ
ตามรายงานของสื่อทางการ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โคนบอน (Konbaung Dynasty, พ.ศ.2295-2428) ทรงส่งพระราชสาส์นฉบับดังกล่าวถึงกษัตริย์แห่งอังกฤษ เพื่อเป็นเครื่องแสดงพระประสงค์ในการเจริญสัมพันธไมตรี และส่งเสริมการค้าขายระหว่างสองราชอาณาจักร แต่พงศาวดารของไทยบันทึกเรื่องราวที่ใหญ่โตกว่านั้น โดยระบุว่า นั่นคือพระราชสาส์นที่แสดงความเป็นเจ้าของดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในอดีต
นั่นคือเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.2299 หรือ 4 ปี หลังจากทรงสถาปนาราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรพม่าขึ้นที่เมืองชเวบอ (Shwebo) หรือ 11 ปีก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะถูกเผาวายวอด ในรัชสมัยพระเจ้ามังระ (Hsinbyushin หรือพระเจ้าเช็งบูเช็ง) พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งถึงกาลล่มสลาย หลังจากเป็นศูนย์กลางการปกครอง และการค้าขายที่รุ่งเรืองในย่านนี้มายาวนานกว่า 400 ปี
พระราชสาสน์ดังกล่าวทรงเขียนขึ้นในยุคที่นักล่าอาณานิคมอังกฤษกำลังปรายสายตามาในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่พระราชวงศ์ใหม่ในพม่า ได้พยายามทำการปฏิรูปภาพลักษณ์อย่างรอบด้านให้ดูทันสมัย สืบต่อจากราชวงศ์ตองอู (Thaung Oo Dynasty) ที่พยายามเอาใจชาวฝรั่งเศส กับชาวอังกฤษในยุคนั้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งมหาอำนาจตะวันตกได้
เมื่อ พล.จ.เอมี้นจู (Aye Myint Kyu) รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ไปเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการปีที่แล้ว ฝ่ายเจ้าภาพได้เสนอโอกาสให้รัฐมนตรีพม่า และคณะได้ไปชมพระราชสาสน์ของพระเจ้าอลองพญา ซึ่งเก็บไว้ที่หอสมุดกอตฟรีด วิลเฮล์ม (Gottfried Wilhelm) ในนครฮันโนเวอร์ (Hannover) ซึ่งว่ากันว่า ที่นั่นเป็นถิ่นพระราชสมภพของพระเจ้าจอร์จที่ 2 และเชื่อกันว่าพระองค์ทรงถวายพระราชสาสน์ทองคำจากกษัตริย์แห่งแดนไกล แด่ทางการท้องถิ่นเมืองฮันโนเวอร์ในยุคดังกล่าว
ไม่ได้มีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนว่า ฝ่ายเยอรมนีได้เปิดเผยให้พม่าทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อนหรือไม่ แต่ระหว่างการเยือนของรัฐมนตรีพม่่าคราวนั้น ฝ่ายเยอรมนีได้รับปากจะจัดทำสำเนาดิจิตัล 3 มิติ พระราชสาสน์ที่ประทับพระราชลัญจกรประจำรัชกาลพระเจ้าอลองพญา และมอบให้แก่ฝ่ายพม่า
พระราชสาสน์ทองคำ ซึ่งเป็นแผ่นโลหะที่ทอขึ้นจากทองคำ มีขนาดยาว 55 เซนติเมตร กว้าง 22 เซนติเมตร ขอบบนกับขอบล่างประดับด้วยทับทิมเม็ดงามที่สุด จำนวน 12 เม็ด เก็บไว้อย่างดีในกล่องที่ทำจากงาช้างแต่เดิม หนังสือพิมพ์นิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์รายงาน
จากที่เป็นเพียงนายบ้าน หรือหัวหน้าหมู่บ้านคนหนึ่งที่มีความปรีชาสามารถในการรบ พระเจ้าอลองพญา ได้รวบรวมไพร่พลเข้าตีเมืองมณีปุระ (Manipura) และก่อตั้งศูนย์กลางการปกครองขึ้นมาใหม่ทางตอนบนของพม่าในปัจจุบัน ในยุคที่อาณาจักรตองอูที่อยู่ใต้ลงไปอ่อนแอลง หลังจากนั้น ได้ทรงนำไพร่พลออกรบทัพจับศึกขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ตลอดเลา 8 ปีกับ 51 วัน ที่ทรงพระราชอำนาจ รวมทั้งการกอบกู้อาณาจักรล้านนา และดินแดนตะนาวศรี กลับคืนไปเป็นของพม่า รวมทั้งความพยายามเข้าตีเพื่อยึดกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง
ผลงานสำคัญอื่นๆ ยังรวมทั้งการขับไล่พวกฝรั่งเศส กับพวกอังกฤษ ที่เข้าไปช่วยเหลือ และพยายามฟื้นฟูพระราชวงศ์ตองอูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคานอำนาจกับฝ่ายเหนือ พระองค์ทรงฟื้นฟูเมืองย่างกุ้ง ที่เคยเป็นเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ และพระราชทานชื่อใหม่ ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
.
|
|
![]() |
|
|
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของฝ่ายพม่า พระเจ้าอลองพญา ทรงสิ้นพระชนม์ระหว่างกลับจากการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แต่พงศาวดารของฝ่ายไทยระบุว่า ทรงสิ้นพระชนม์เนื่องจากปืนใหญ่แตกที่บริเวณหน้าพระเมรุ และพระองค์ทรงมีพระราชสาสน์ทองคำถึงพระเจ้าจอร์จที่ 2 ก่อนจะทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ เพื่อแจ้งให้อังกฤษได้ทราบว่า อยุธยาเป็นของราชอาณาจักรพม่ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง
สื่อของทางการไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับเนื้อหาในพระราชสาสน์ทองคำฉบับดังกล่าว นอกเหนือจากที่ระบุว่า เป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเกรทบริเตนในครั้งกระโน้น
ตลอดช่วงเวลา 258 ปี แห่งราชวงส์โคนบอน (เขียนตามสำเนียงในภาษาพม่า - บก.) กษัตริย์พระองค์ต่อๆ มาได้ทรงย้ายราชธานี หรือศูนย์กลางการปกครองไปยังอีกหลายแห่ง คือ จากเชวบอ ไปยังสะกาย (Sagaing) อังวะ (Ava) อมราปุระ (Amarapura) หรือ “อมรปุระ” และแห่งสุดท้ายคือ กรุงมัณฑะเลย์ (Mandalay) ก่อนจะสิ้นสุดลงในรัชสมัยพระเจ้าธีบอ หรือ “ติบอ” (Thibaw) และทั้งดินแดนพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์
เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้ง ไปยังเนปีดอ รัฐบาลทหารพม่าในอดีตได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในเมืองหลวงใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอลองพญา และบรมกษัตริย์อีก 2 พระองค์ คือ พระเจ้าอนอรธา (Anawratha) กับพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) บริเวณลานพระบรมชารานุสาวรีย์ดังกล่าว ถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับการสวนสนามฉลองวันครบครอบปีสำคัญของกองทัพพม่าตลอดหลายปีมานี้.
ขอบคุณที่มา : manager.co.th
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
-
ภาษาพูดกัมพูชา (ภาษาเขมร) khmer-language-communication.blogspot.com คำทักทายพูดคุย ศัพท์ทั่วไป สวัสดี ซัวซไดย, จุมเรี้ยบซัว ห้องน้ำ ต๊บตึ๊ก สวัสดี(ตอนเช้า) อรุณซัวซไดย ขออีก/เอาอีก ซมเตี๊ยบ สบายดีหรือ ซกสะบายดี (ถาม)...by Editor Bow
-
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ ๗ ประจำปี ๒๕๕๘ ภายใต้หัวข้อ...by dogTech
-
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โทรศัพท์มือถือ iPhone 6 กับ 6 Plus ล็อตแรกที่ไม่ทราบจำนวน ไปถึงเวียดนามตอนบ่ายวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ก่อนที่บริษัทแอปเปิลจะให้วางตลาดอย่างเป็นทางการ ทั้งหมดเป็นเครื่องหิ้วจากฮ่องกง และสิงคโปร์...by Editor
เรื่องมาใหม่
คำฮิต