ลบ
แก้ไข
สมาร์ทเทรด จัดงานกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตในภาคเหนือ
“สมาร์ทเทรด” กระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตในภาคเหนือ เตรียมรับมือ AEC จัดงาน Manufacturing Review @ LAMPHUN วันศุกร์นี้ ณ ห้องประชุมเครือสหพัฒน์ จ.ลำพูน บริษัท สมาร์ทเทรด พับลิเคชั่นส์ ผู้ผลิตนิตยสารสำหรับผู้ประกอบการ และผู้บริหารอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้จัดงานสัมมนาปูพรมความรู้ให้ผู้ประกอบการในภาคเหนือ ชื่องาน Manufacturing Review @ LAMPHUN ในวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้จากนิตยสาร นำนักวิชาการลุยลงพื้นที่ในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพการผลิตให้ผู้ประกอบการ ทั้งในด้านเทคโนโลยีการผลิต บุคลากร และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 น.ส.ณัฐธิดา เอื้องพูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และการตลาด บริษัท สมาร์ทเทรด พับลิเคชั่นส์ จำกัด ผู้ผลิตนิตยสาร Manufacturing Review, Inno-Industy Support และ Asia-Pacific PLAS & PACK ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับผู้ประกอบการและผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผู้จัดงาน Manufacturing Review @ LAMPHUN ซึ่งเป็นงานสัมมนาวิชาการโดยได้นำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน และลดต้นทุนการผลิต สอดรับต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เช่น เรื่องการใช้บุคลากร และใช้เทคโนโลยีอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถฝ่าวิกฤตต่อสู้การแข่งขันในระดับอาเซียน ได้กล่าวว่า “ในอนาคตของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโต และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง จะเห็นได้จากการซื้อขายเครื่องจักรมีการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพื่อจะเอามาชดเชยทางด้านแรงงาน เพราะในปัจจุบันทุกคนต้องการก้าวไปให้ทันโลก ทันตลาดการค้าโลก โดยเฉพาะเรื่องของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของเทคโนโลยี กำลังการผลิต การลดต้นทุน การสูญเสีย แม้กระทั่งการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้ามองในฐานะผู้ลงทุนเขาก็ต้องมองถึงศักยภาพที่ดีที่สุด ซึ่ง “ประเทศไทย” นับเป็นศูนย์กลางได้ เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างที่พร้อมให้แก่นักลงทุนเข้ามาสร้างฐานในบ้านเราได้ นิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นนิคมที่น่าสนใจ และน่าจะจับตามอง เพราะเป็นนิคมเดียวที่อยู่ทางภาคเหนือตอนบน เราจึงต้องรีบไปปักหมุด เพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งเสริมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียงให้เป็นฐานการผลิตทางอุตสาหกรรมอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมให้เศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น เราจึงได้เตรียมความพร้อม และได้เพิ่มศักยภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการ ผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม โดยเชิญกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการจากจังหวัดใกล้เคียงสามารถมาเข้าฟังการสัมมนาได้ฟรี นอกจากนี้ ภายในการสัมมนายังได้เชิญวิทยากรผู้มากประสบการณ์ เช่น ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญจากหอการค้าจังหวัดลำพูน และผู้บรรยายพิเศษจากบริษัทสินค้าชั้นนำในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มาร่วมบรรยายให้ความรู้ในวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเครือสหพัฒน์ จ.ลำพูน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการผลิตให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้” ด้าน ม.ล.ราชันย์ อรุณวงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ได้กล่าวถึงแนวโน้มการลงทุน และการส่งออกสินค้าภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดลำพูน และจังหวัดในภาคเหนือว่า ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยทางจังหวัดลำพูนได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ หรือ POSITIONING เป็นการพัฒนาครอบคลุมในทุกมิติ เน้นให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ควบคู่ความสงบสุขทางด้านสังคม และคุณภาพชีวิต ได้เผยว่า โดยพื้นฐานการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใดจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้าน สำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ประเด็นที่สำคัญ ก็คือ การบริหารจัดการธุรกิจภายใต้ข้อมูลข่าวสาร ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้ รวดเร็ว และสะดวกต่อการเข้าถึง ดังนั้น การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจมาใช้ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการสร้าง และแสวงหาพันธมิตรจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขัน และการได้เปรียบในเชิง Value Chain ในที่สุด ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยยกระดับการแข่งขัน ควบคู่กับการปรับโครงสร้างการผลิตภายใต้ความร่วมมือในภาคเอกชน และการสนับสนุนเชิงนโยบายจากทางภาครัฐ อาทิ การนำเข้าเครื่องจักรกลเข้ามาใช้แทนที่แรงงาน การปรับกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนด้วยเทคนิคใหม่ๆ การ จัดเทรนนิ่งเพื่อหาวิธีการผลิตใหม่ที่เพิ่มผลผลิตต่อคนให้สูงขึ้น ตลอดจนการหาพันธมิตรเครือข่ายในการผลิต ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่เราต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และยังส่งผลไปให้ต้นทุนการผลิตในส่วนต่างๆ ลดลงตามไปด้วย งานสัมมนา Manufacturing Review @ LAMPHUN จะได้จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมเครือสหพัฒน์ จ.ลำพูน ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้ที่โทร 0-29601434-8, 08-1493-8927 Fax 0-2960-1433 หรือจะเป็นทาง E-mail Address ได้ที่ stp-event@hotmail.com ขอบคุณที่มา : manager.co.th |
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้ง เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (15ก.ย.)ว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคณะรัฐมนตรีจะเป็นนักวิชาการ ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีคลัง,พลังงาน และวิสาหกิจของรัฐ โดยนายวิโดโด...by Editor
-
สำหรับใครที่เคยไปประเทศพม่า ก็คงพอจะรู้กันบ้างแล้วว่าคนในประเทศพม่าเป็นอย่างไร คนพม่าน่ารักมาก ถึงจะเป็นประเทศที่ยังไม่พัฒนารวมถึงค่อนข้างยากจน แต่คนประเทศพม่าถือว่าซื่อสัตย์มาก เวลาซื้อของไม่ต้องกลัวโดนโกงราคา...by Editor Bow
-
เรือรบของกองทัพเรือพม่าลำหนึ่งที่กำลังแล่นกลับประเทศ ได้นำคนงานที่ผิดกฎหมายชาวพม่า จำนวน 120 คน จากมาเลเซียกลับมาด้วย โดยมีกำหนดถึงพม่าสุดสัปดาห์นี้ หนังสือพิมพ์ เมียววดี (Myawaddy) สื่อของกองทัพรายงานในวันพฤหัสบดี...by Editor
-
เรื่องมาใหม่
คำฮิต