ลบ
แก้ไข

“ มือ” เป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งของหรือใช้งานในกิจกรรมอื่นๆทั้งเด็กที่จะต้องใช้มือในการเขียนหนังสือผู้ใหญ่คนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์เขียนงานเอกสารหรือใช้ในงานด้านต่างๆตลอดจนแม่บ้านที่ทำงานบ้านซักผ้าบิดผ้าหิ้วถุงจ่ายตลาด
ดังนั้นจากพฤติกรรมการใช้งานของมือในแต่ละคนก็มีสิทธิ์เสี่ยงที่จะเกิดภาวะนิ้วล็อคได้จะพบว่ามีอาการเจ็บและมีเสียงดังกึกทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้วแต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัวทำให้ลอดผ่านห่วงลำบากจึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อคตามมาส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่45 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะแม่บ้านส่วนในผู้ชายมักจะพบในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือหนักๆเช่นพนักงานพิมพ์ดีดนักกอล์ฟในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัดหรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอนพอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้นเวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึกต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อคคือเวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งานซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชาติดแข็งจนใช้งานไม่ได้
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค
1. ไม่หิ้วของหนักเกินไปถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามืออาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนเพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
2. ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรงเช่นไขควงเลื่อยค้อนฯลฯ
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่องทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบมควรพักมือเป็นระยะๆและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่นเพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้าหรือมือเมื่อยล้าให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆในน้ำจะทำให้ข้อฝืดลดลง
วิธีทำกายภาพมือแบบง่ายๆก่อนจะเป็นนิ้วล็อคถาวร
1. ยืดกล้ามเนื้อแขนมือนิ้วมือโดยยกแขนระดับไหล่ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลงปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้นับ1-10 แล้วปล่อยทำ6-10 ครั้ง/เซต
2. บริหารการกำ-แบมือโดยฝึกกำ-แบเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและกำลังกล้ามเนื้อภายในมือหรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้โดยทำ6-10 ครั้ง/เซต
3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือโดยใช้ยางยืดช่วยต้านแล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออกค้างไว้นับ1-10 แล้วค่อยๆปล่อยทำ6-10 ครั้ง/เซต
การบริหารมือง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานทำได้ทุกทีทุกเวลาคะเพื่อช่วยลดภาวะอาการนิ้วล็อคได้ดังนั้นเรามาเริ่มบริหารกันได้เลยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก รพ.พญาไท ,รพ.ศิริราช
การป้องกันอาการนิ้วล็อคจากพฤติกรรมการใช้งานอย่างประจำ

“ มือ” เป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะหยิบจับสิ่งของหรือใช้งานในกิจกรรมอื่นๆทั้งเด็กที่จะต้องใช้มือในการเขียนหนังสือผู้ใหญ่คนทำงานที่ต้องใช้มือกับแป้นพิมพ์เขียนงานเอกสารหรือใช้ในงานด้านต่างๆตลอดจนแม่บ้านที่ทำงานบ้านซักผ้าบิดผ้าหิ้วถุงจ่ายตลาด
ดังนั้นจากพฤติกรรมการใช้งานของมือในแต่ละคนก็มีสิทธิ์เสี่ยงที่จะเกิดภาวะนิ้วล็อคได้จะพบว่ามีอาการเจ็บและมีเสียงดังกึกทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้วแต่เมื่อมีการอักเสบเส้นเอ็นจะบวมและหนาตัวทำให้ลอดผ่านห่วงลำบากจึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อคตามมาส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่45 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะแม่บ้านส่วนในผู้ชายมักจะพบในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือหนักๆเช่นพนักงานพิมพ์ดีดนักกอล์ฟในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือกำมือไม่ถนัดหรือกำได้ไม่เต็มที่โดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอนพอใช้มือไปสักพักก็จะกำมือได้ดีขึ้นเวลางอที่จะเหยียดนิ้วมือมักจะได้ยินเสียงดังกึกต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อคคือเวลางอนิ้วจะเหยียดขึ้นเองไม่ได้มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งานซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้บางรายอาจรุนแรงถึงนิ้วบวมชาติดแข็งจนใช้งานไม่ได้
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค
1. ไม่หิ้วของหนักเกินไปถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามืออาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนเพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
2. ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้นและจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรงเช่นไขควงเลื่อยค้อนฯลฯ
3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่องทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบมควรพักมือเป็นระยะๆและออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่นเพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้าหรือมือเมื่อยล้าให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบเบาๆในน้ำจะทำให้ข้อฝืดลดลง
วิธีทำกายภาพมือแบบง่ายๆก่อนจะเป็นนิ้วล็อคถาวร
1. ยืดกล้ามเนื้อแขนมือนิ้วมือโดยยกแขนระดับไหล่ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลงปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้นับ1-10 แล้วปล่อยทำ6-10 ครั้ง/เซต
2. บริหารการกำ-แบมือโดยฝึกกำ-แบเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วมือและกำลังกล้ามเนื้อภายในมือหรืออาจถือลูกบอลในฝ่ามือก็ได้โดยทำ6-10 ครั้ง/เซต
3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้งอ-เหยียดนิ้วมือโดยใช้ยางยืดช่วยต้านแล้วใช้นิ้วมือเหยียดอ้านิ้วออกค้างไว้นับ1-10 แล้วค่อยๆปล่อยทำ6-10 ครั้ง/เซต
การบริหารมือง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานทำได้ทุกทีทุกเวลาคะเพื่อช่วยลดภาวะอาการนิ้วล็อคได้ดังนั้นเรามาเริ่มบริหารกันได้เลยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก รพ.พญาไท ,รพ.ศิริราช

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
เรียบเรียงข้อมูลโดย UASEAN ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Fackbook All Avout โป้ป ธนวรรธน์ ,นิตยสาร เปรียว, ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักโป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติหนุ่มหล่อที่ขโมยหัวใจสาว ๆ ทั่วบ้านทั่วเมืองกับบทของ ม.ล.พิศุทธิ์...by nidnoi
-
ผลการจัดอันดับของชาริตีส์เอดฟาวเดชัน (ซีเอเอฟ) พบว่า เมียนมาเป็นประเทศที่ผู้คนใจบุญมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกประจำปี 2558 ส่วนไทยใจบุญมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก ซีเอเอฟซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในอังกฤษเผยดัชนีการให้ประจำปี...by dogTech
-
ภาษาพูดกัมพูชา (ภาษาเขมร) khmer-language-communication.blogspot.com คำทักทายพูดคุย ศัพท์ทั่วไป สวัสดี ซัวซไดย, จุมเรี้ยบซัว ห้องน้ำ ต๊บตึ๊ก สวัสดี(ตอนเช้า) อรุณซัวซไดย ขออีก/เอาอีก ซมเตี๊ยบ สบายดีหรือ ซกสะบายดี (ถาม)...by Editor Bow
-
แนวคิด OVOP หรือ One Village, One Product เริ่มต้นที่จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่นในปี 1979 และกลายเป็นหนึ่งในโปรแกรมทางเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาค...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต